Blog Post

ปัจจัยที่ทำให้ไอศกรีมละลายได้ช้า

  • By Admin
  • 09 Oct, 2018

อะไรที่ทำให้เราทานไอศกรีมได้เรื่อยๆ โดยที่มันไม่ได้ละลายหายวับไปกับตา

ปัจจัยที่ทำให้ไอศกรีมละลายช้า
สังเกตมั้ยว่า เราสามารถนั่งกินไอศกรีมได้เรื่อยๆ โดยที่มันไม่ได้ละลายหายวับไปกับตา สาระน่ารู้เกี่ยวกับไอศกรีมวันนี้ ครีโมขอยกข้อสงสัยของนักทานไอศกรีมมาอธิบายให้ฟังว่าทำไมไอศกรีมถึงละลายช้า
เราน่าจะพอทราบกันมาบ้างแล้วว่า ไอศกรีมมีนมเป็นส่วนประกอบหลัก ทั้งยังมีครีม นมพร่องมันเนย น้ำตาล และน้ำ ส่วนผสมพื้นฐานนี้ทำให้ใครๆ ก็สามารถทำไอศกรีมโฮมเมดได้ไม่ยาก แต่สำหรับกระบวนการผลิตไอศกรีมแปรรูปได้มีการเติมสิ่งที่สำคัญมากๆ อีก 3 อย่างเข้าไปด้วย หนึ่งในนั้นคือสารที่ช่วยให้เกิดความคงตัว เรียกว่า Carrageenan (คาราจีแนน)
คาราจีแนน คือสารสกัดที่ได้จากสาหร่ายทะเลสีแดง มีคุณสมบัติที่คล้ายเจลาติน แต่ไม่ได้เหนียวและยืดหยุ่น ความพิเศษของมันช่วยลดการละลายของเนื้อไอศกรีม เพิ่มการกลมกลืนของส่วนผสมและรสชาติ ทั้งยังป้องกันการแยกตัวของความมันจากเนื้อไอศกรีมอีกด้วย
นอกจากนี้ผู้ผลิตบางรายก็อาจจะเลือกใช้พวกยางพืช หรืออาจจะเป็นเจลาตินที่สกัดได้จากกระดูกและหนังสัตว์ ซึ่งก็ช่วยเพิ่มความหนืดให้กับไอศกรีม
ทำให้เนื้อไอศกรีมไม่หยาบ และที่สำคัญยังช่วยให้ไอศกรีมละลายช้า เราจึงกินไอศกรีมกันได้นานขึ้น ซึ่งทางครีโมไม่ได้ใช้เจลาตินจากสัตว์เนื่องจากสินค้าเรามีมาตรฐานฮาลาล โดยใช้ Locust bean gum เป็นสารเพิ่มความหนืดและความคงตัวที่มาจากพืชแทน
สารต่อมามีชื่อว่า Emulsifier (อิมัลซิฟายเออร์) เป็นสารที่ทำให้ส่วนผสมที่ปกติไม่สามารถผสมกันได้มารวมตัวกันได้ ในกรณีของไอศกรีมคือช่วยให้น้ำผสมกับไขมันได้ ผิวของไอศกรีมจึงดูเรียบเนียน เพราะส่วนผสมต่างๆ นั้นเข้ากันได้ดี จึงเป็นข้อแตกต่างระหว่างไอศกรีมธรรมชาติกับไอศกรีมแปรรูป
สารสำคัญอีกหนึ่งชนิดที่ทำให้ไอศกรีมคงตัวคือ sweetener (สารให้ความหวาน) ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญในการให้รสชาติหวานของไอศกรีม ทั้งยังช่วยเพิ่มความหนืด ปรับปรุงเนื้อสัมผัสของไอศกรีมให้ดีขึ้น แต่ถ้าผสมมากเกินไปจะทำให้จุดเยือกแข็งของไอศกรีมต่ำลง ไอศกรีมก็จะละลายง่าย
Share by: